กฎหมายน่ารู้

พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490

กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืน ส่วนใหญ่จะทำผิดกันบ่อยก็มี คือ ปืนไม่มีทะเบียน ปืนผิดมือ ไม่มีใบอนุญาตพกพา มีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ยิงปืนขึ้นฟ้า เป็นต้น

มีอาวุธปืนไม่มีทะเบียน (ปืนเถื่อน)
อัตราโทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000-20,000 บาท
การประกันตัว (เงินสด) ประมาณ 100,000 บาทขึ้นไป

มีอาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตฯไว้ในครอบครอง(ปืนผิดมือ)
อัตราโทษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท
การประักันตัว(เงินสด) ประมาณ 50,000 ขึ้นไป

มีอาวุธปืนมีทะเบียน(พกพาโดยไม่มีใบอนุญาตพกพา)
อัตราโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เิกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การประกาันตัว(เงินสด) ประมาณ 50,000 ขึ้นไป

มีเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต(ไม่ถูกขนาดกับปืนที่มีใบอนุญาต)
อัตราโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การประกันตัว(เงินสด) ประมาณ 20,000-50,000 บาท

ยิงปืนซึ่่่่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้านฯ (ยิงปืนขึ้นฟ้า ผิด ป.อาญา มาตรา 376)
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ  การยิงปืนขึ้นฟ้าแม้โทษจะน้อยนิด แต่อาจโดนข้อหาอื่นๆอีก เช่น พกพาปืนไปในทางสาธารณะฯ , และ พรบ.อาวุธปืน ฐานความผิดต่างๆ ถ้าการกระทำผิดเข้าองค์ประกอบ และถ้ามีคนตายจากการยิงนั้น อาจผิดประมาททำให้บุคคคลอื่นถึงแก่ความตายอีก ดูพฤติการณ์เป็นกรณีๆไป

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมฯ ที่ผ่านมาได้มีประกาศสำนักนายกฯ เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม ประกาศฯนี้ใช้ควบคู่กับ พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯ โดยเพิ่มสถานที่ห้ามบริโภคฯ จากเดิมมีอยู่ 6 สถานที่หลักๆ เพิ่มไปอีก 1 สถานที่คือ บนทาง นั่นเอง
พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มฯ มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้

1. วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
2. สถานบริการสาธารณะสุขของรัฐ ,สถานพยาบาล และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนตัว
3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
4. สถานศึกษา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสรหรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
5. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ร้าค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
6. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป
7. สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
   - ประกาศนายกฯ ห้ามบริโภคเครื่องดื่มฯ บนทาง
ผู้ใดฝ่าฝืน พรบ. นี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ซึ่งตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง เพื่อให้มีระเบียบในการดื่มกิน และป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย การที่คนเมาแล้วมานั่ง หรือนอนบนรถ ย่อมไม่ผิดกฎหมายนี้แีน่นอน แต่มีหลายคนเข้าใจผิด การที่จะผิดกฎหมายนี้คือต้องมีการดื่ม บนรถ ในขณะนั้นเลย 
มีหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้กฎหมายตัวนี้ แต่ก็อ้างไม่ได้ เนื่องจากมี กฎหมาย ป.อาญา มาตรา 64 ว่า บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความผิดทางอาญาไม่ได้  แต่เชื่อเถอะครับว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เขาเข้าใจ เขาจะตักเตือนก่อน เพราะการใช้กฎหมายที่ตรึงเกินไป หรือ หย่อน เกินไป ย่อมไม่ดี การใช้กฎหมายต้องให้พอดี เหมือน ทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้



4 ความคิดเห็น:

  1. ผมโดนจับถือบ้านเพื่อนฝากปืนไว้ และผมเอาออกมาเช็ดทำความสะอาด ตำรวจผ่านมาเห็นเลยเข้าจับกุม ปืนไม่มีกระสุนแต่ มีทะเบียน ไม่เคยยิงคน อันนี้ศาลจะให้ผมเสียค่าปรับกี่บาทหรือติดคุกกี่เดือน (ผมเคยมีคดียาเสพติดเพิ่งพ้นโทษมาด้วย)

    ตอบลบ
  2. มีเครื่องกระสุนปืนขนาด 9.มม เคยตรงโทดมาแล้ว

    ตอบลบ
  3. คือผมโดนจับข้อหามีปืนยาวไทยประดิษย์และเครืองกระสูนปืนขนาด.22ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอณุญาดผมให้การว่าปืนม้นชำรุดแล้วใดเก็บเอาไว้โชวย์ภายในขนำตามที่ร้อยเวรฟ้องศาลจะสั่งจำคุกหรือเสียค่าปรับคับ

    ตอบลบ
  4. ผมโดนจับโทษฐานมีลูกปืนลูกซอง1ลูกร้อยเวรจะส่งห้องศาลผมจะจำคุกหรืิเสียค่าปรับครับ

    ตอบลบ